ความต้านทานการกัดกร่อน
เหตุใด? สเตนเลสจึงทนต่อการกัดกร่อนได้ โลหะทุกชนิดทั่วไปจะทำปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นฟิล์มออกไซต์บนผิวโลหะ หรือออกไซต์ ที่เกิดบนผิวเหล็กทั่วไป จะทำปฎิกิริยาออกซิไดซ์ และทำให้เกิดสภาพพื้นผิวเหล็กผุกร่อน ที่เราเรียกว่า เป็นสนิม แต่สเตนเลสมีโครเมียมผสมอยู่ 10.5% ขึ้นไป ทำให้คุณสมบัติของฟิล์มออกไซต์บนพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นฟิล์มปกป้อง หรือพลาสซิฟเลเยอร์ (Passive Layer) ที่เหมือนเกราะป้องกัน การกัดกร่อน ซึ่งปรากฎการณ์นี้เรียกว่า พาสซิวิตี้ (Passivity) ฟิล์มปกป้องนี้จะมีขนาดบางมาก (สำหรับแผ่นสเตนเลสบางขนาด 1 มม. ฟิล์มหรือพาสซีฟ เลเยอร์นี้ จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่น บนตึกสูง 20 ชั้น) และมองตาเปล่าไม่เห็นฟิล์มนี้จะเกาะติดแน่น และทำหน้าที่ปกป้องสเตนเลส จากการกัดกร่อนทั้งมวล หากนำไปผลิตแปรรูปหรือใช้งานในสภาพเหมาะสม เมื่อเกิดมีการขีดข่วน ฟิล์มปกป้องนี้จะสร้างขึ้นใหม่ได้เองตลอดเวลา (ดังรูป) ความคงทนของพาสซีสเลเยอร์ เป็นปัจจัยหลักของความต้านทานการกัดกร่อนของสเตนเลส นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับสภาพการกัดกร่อนอันได้แก่ ความรุนแรง ของปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ความเป็นกรดปริมาณสารละลายคลอไรต์ และอุณหภูมิ โดยทั่วไปแล้วการเพิ่มปริมาณ โครเมียมจะช่วยเพิ่มความ ต้านทาน การกัดกร่อนของสเตนเลส การเติมนิเกิลจะช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยทั่วไป ให้ทนสภาวะกัดกร่อนรุนแรงได้ ส่วนโมลิบดินัมจะช่วยเพิ่ม ความต้านทานการกัดกร่อนเฉพาะที่ เช่น การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting Corrosion) ในทางปฏิบัติ สเตนเลสชนิดเฟอร์ริติก มีการใช้งานจำกัดในสภาพการกัดกร่อนปานกลางและในสภาพชนบท ทั้งชนิดเฟอร์ริติกและออสเตนิติก สามารถใช้ทำ อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนได้แต่เนื่องจากชนิดออสเตนิติกสามารถทนการกัดกร่อนได้ดี และทำความสะอาดง่าย จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ชนิดออสเตนิติกยังทนการกัดกร่อนจากสารเคมีหลายประเภทได้แก่ กรด, อัลคาลายด์ เป็นต้น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมเคมี และกระบวนการผลิตต่าง ๆ |
เกรดออสเตนิติก (AUSTENITIC GRADES) |
สแตนเลสเกรดออสเตนิติกเป็นสแตนเลสเกรดที่ใช้แพร่หลาย โดยทั่วไปรู้จักกันในอนุกรม 300 (300 SERIES) เกรดออสเตนิติกเป็นเกรดที่แม่เหล็กดูดไม่ติด (NONMAGNETIC) มีส่วนผสมของเหล็ก (Fe), โครเมียม (CHROMIUM, Cr) และ นิคเกิล (NICKEL, Ni) ซึ่งการที่มีโครเมียม (CHROMIUM) และ นิคเกิล (NICKEL) ผสมอยู่ทำให้สแตนเลสเกรดนี้มีความต้านทานต่อการ กัดกร่อน สแตนเลสเกรดนี้จะมีความแข็งน้อยลงเมื่อมีการใช้งานในสภาพความร้อนสูง แต่จะมีความแข็งเมื่อใช้งานในสภาวะที่เย็น |
|
เกรดเฟอร์ริติก (FERRITIC) |
สแตนเลสเกรดเฟอร์ริติก (FERRITIC) เป็นสแตนเลสที่ถูกพัฒาเพื่อให้มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนและการเกิดสนิม สแตนเลสเกรดนี้มีส่วนผสมของเหล็ก (Fe) และโครเมียม (CHROMIUM, Cr) แต่ไม่มี นิคเกิล (NICKEL, Ni) ผสมอยู่ และแม่เหล็กสามารถดูดติดได้ (FERROMAGNETIC) สแตนเลสเกรดนี้จะมีความแข็งแกร่งน้อยลงเมื่อใช้งานในสภาวะที่มีความร้อนสูง อย่างไรก็ตามสแตนเลสเกรดนี้ก็ยังมีคุณภาพ และความแข็งแกร่งน้อยกว่า สแตนเลสเกรดออสเตนิติก |
|
ชนิด 304 | เป็นสแตนเลสเกรดออสเตนิติก (AUSTENITIC) ที่พบเห็น และใช้แพร่หลายที่สุด มีส่วนผสมของโครเมียม (CHROMIUM) ประมาณ 18% และนิคเกิล (NICKEL) ประมาณ 8% ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร, เครื่องดื่ม, อุปกรณ์ในกระบวนการทางเคมี, อุปกรณ์เครื่องครัว, เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร, เครื่องใช้ในบ้าน, เครื่องล้างจาน, อ่างล้างจาน, ภาชนะหุงต้ม, เครื่องมือในโรงพยาบาล และเวชภัณฑ์, ตู้รถไฟ, ตู้คอนเทนเนอร์ ฯลฯ | |
ชนิด 304D | เป็นสแตนเลสเกรดออสเตนิติก (AUSTENITIC) ที่มีโครเมียม (CHROMIUM) ผสมอยู่ 18% และมีนิคเกิล (NICKEL) ผสมอยู่ 8.5% จะมีความสามารถขึ้นรูปเย็นได้ดีกว่าชนิด 304 เหมาะสำหรับการผลิตวัตถุที่มีการขึ้นรูปแบบหลุมลึก และการดึงขึ้นรูปสำหรับรูปทรงที่ซับซ้อน เช่น ภาชนะที่เป็นหลุมลึก, เครื่องล้างจาน, ภาชนะหุงต้ม, อ่างล้างจาน เป็นต้น | |
ชนิด 304DDQ | เป็นสแตนเลสเกรดออสเตนิติก (AUSTENITIC) ที่มีโครเมียม (CHROMIUM) ผสมอยู่ 18% และมีนิคเกิล (NICKEL) ผสมอยู่ 9% จะมีความสามารถขึ้นรูปเย็นได้ดี เมื่อแผ่นสแตนเลสต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปมาก จึงเหมาะกับงานพิเศษ เช่น การขึ้นรูปแบบหลุมลึก, การดึงขึ้นรูปที่มีรูปทรงที่ซับซ้อน, การขึ้นรูปที่ใช้ทั้งการดึงและการยืดตัว เป็นต้น | |
ชนิด 316 | เป็นสแตนเลสเกรดออสเตนิติก (AUSTENNITIC) ที่มีส่วนผสมของโครเมียม (CHROMIUM) 16% ถึง 18% และนิคเกิล (NICKEL) 11% ถึง 14% และยังมีโมลิบดินัม (MOLYBDENUM) ผสมอยู่อย่างน้อยที่สุด 2% ซึ่งจะทนการกัดกร่อนที่เป็นหลุม (PITTING RESISTANCE) ได้ดี สแตนเลสชนิด 316 ใช้ในกระบวนการทางเคมี, ปั๊ม, แท้งค์, อุตสาหกรรมกระดาษ, กระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม, การก่อสร้าง ฯลฯ | |
ชนิด 430 | เป็นสแตนเลสเกรดเฟอร์ริติก (FERRITIC) มีความต้านทานการกัดกร่อนน้อยกว่าชนิด 304 มีส่วนผสมของโครเมียม (CHROMIUM) 17% ใช้ทำเครื่องใช้ในครัว, เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร, อุปกรณ์หุงต้ม, เฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งภายในอาคาร ฯลฯ | |
"L" Grades | "L" เกรดแสดงถึงสแตนเลสนั้นมีคาร์บอนผสมอยู่น้อย (low Carbon) ซึ่ง L เกรดจะเพิ่มความต้านทานพิเศษของการกัดกร่อนตามขอบเกรน แม้ผ่านการเชื่อมมาแล้ว แต่สแตนเลสชนิด L เกรด จะมีราคาสูงกว่าชนิดธรรมดา สแตนเลสชนิด L เกรดที่พบทั่วไปได้แก่ 304L, 316L เป็นต้น | |
2D | มีลักษณะผิวด้าน มีความสะท้อนแสง 13% | |
2B | ลักษณะผิวจะเงาขึ้นเล็กน้อยจากผิว 2D มีความสะท้อนแสง 22% ในเกรดออสเตนิติก และ 46% ในเกรดเฟอร์ริติก | |
BA | มีลักษณะผิวมันเงา มีความสะท้อนแสง 54% | |
No.4 | เป็นผิวที่มีการขัดด้วยกระดาษทราย #180 | |
HL | เป็นผิวที่มีการขัดเป็นลายเส้นยาว (HAIR LINE) | |
No.8 | มีลักษณะผิวเงาวาวเหมือนกระจก (MIRROR FINISH) มีความสะท้อนแสง 85% |